ประชาสัมพันธ์
โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดเพื่อมุ่งสู่การเป็นนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ AI
สนับสนุนเพื่อจัดทำโครงการนวัตกรรมและเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท
สรุปเกี่ยวกับโครงการ
โดย คณะวิจัยของโครงการ
เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศทั่วโลก และยังเป็นแรงผลักดันสำคัญในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมของโลกยุคใหม่ที่วิถีชีวิตของมนุษย์จะไม่เหมือนเดิม ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์กำลังแทนที่หลายทักษะเดิมของมนุษย์ และในขณะเดียวกัน โลกยุคใหม่ก็ต้องการทักษะใหม่ๆ จากมนุษย์ที่สอดคล้องกับการอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้นการเข้าใจปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรู้เท่าทัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับเยาวชนในยุคปัจจุบัน เพราะการมีทักษะเหล่านี้จะทำให้เยาวชนสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้ต่อไปในอนาคต
โครงการนี้มีชื่อว่า “โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดเพื่อมุ่งสู่การเป็นนวัตกรด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า” โดยมีผู้ดำเนินโครงการเป็นกลุ่มอาจารย์และนักวิจัยด้านคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก 9 มหาวิทยาลัย ในพื้นที่เขตภาคเหนือ ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสใหม่ให้กับเยาวชนของประเทศได้มีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เยาวชนมีความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น โดยสามารถรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์ สามารถพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และสามารถนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไปได้ในอนาคต
ผู้ดำเนินโครงการมีแนวคิดที่จะยกระดับความรู้ของเยาวชนทางด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ด ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ โดยทำให้เยาวชนสามารถเข้าใจในหลักการสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็น นวัตกรด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Innovator) ที่มีแนวคิดใหม่ๆ ในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้สร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อเศษฐกิจและสังคมต่อไป

Project Scope ขอบเขตของโครงการ โดย คณะวิจัยของโครงการ
“โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดเพื่อมุ่งสู่การเป็นนวัตกรด้านปัญญาประดิษฐ์
(สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า)”
ซึ่งเป็นโครงการย่อยที่ 2 ของแผนงาน Building Coders และได้รับการสนับสนุนทุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
ขอบเขตของโครงการนี้เป็นการพัฒนาเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เท่านั้น และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องสังกัดอยู่ในสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเขตภาคเหนือ (รวมถึง ภาคกลางตอนบนบางส่วน) อันได้แก่ กำแพงเพชร, ชัยนาท, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, ตาก, นครสวรรค์, น่าน, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, แพร่, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และ อุทัยธานี
นักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องได้รับการรับรองจาก ครู หรือ บุคลากรของสถาบันการศึกษาของตนเองก่อน จึงจะสามารถสมัครไปยังมหาวิทยาลัยเครือข่ายที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ที่กำหนดไว้ดังนี้
# | มหาวิทยาลัยเครือข่าย | จังหวัดที่รับผิดชอบ |
---|---|---|
1 | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก | พิษณุโลก, สุโขทัย |
2 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก | พิษณุโลก, ตาก |
3 | มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร | กำแพงเพชร, ตาก, สุโขทัย |
4 | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ | นครสวรรค์, ชัยนาท,อุทัยธานี |
5 | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ | อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน |
6 | มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | ลำปาง, ลำพูน, พะเยา |
7 | มหาวิทยาลัยราชภัฏชียงใหม่ | เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน |
8 | มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ | เพชรบูรณ์, ชัยภูมิ |
Issues
ประเด็นสำคัญ
ประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้คือ หัวข้อการเรียนรู้ที่กำหนดไว้เป็นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาเยาวชนในโครงการ ให้มีผลการเรียนรู้ที่พัฒนาไปตามลำดับขั้นต่างๆ ที่วางไว้
1. ภาษาโปรแกรมและการเขียนโค้ดพื้นฐาน
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนรู้จักและเข้าใจภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (โครงการได้กำหนดให้เป็นภาษา Python) และสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานได้
2. การเขียนโค้ดโดยใช้ Libraries เพื่อการดำเนินการในด้านสำคัญต่างๆ
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนรู้จักและใช้งาน Libraries ที่สำคัญของภาษา Python ในด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือ การดำเนินการด้านข้อมูล หรือ การนำเสนอข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาโครงการด้านปัญญาประดษฐ์เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. หลักการด้านปัญญาประดิษฐ์
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนเข้าใจภาพรวมของปัญญาประดิษฐ์ การจำแนกประเภทของปัญญาประดิษฐ์ แนวคิดหลักและวิธีการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ การวัดผลและประเมิลผลการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่อประเด็นทางสังคม
4. คณิตศาสตร์เชิงลึกสำหรับปัญญาประดิษฐ์
วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายถึงกลไกการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ โดยมีขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ พีชคณิตเชิงเส้น ความน่าจะเป็นและสถิติ แคลคูลัสเบื้องต้น และ การหาค่าที่เหมาะสม เป็นต้น
5. การเขียนโค้ดสำหรับการประยุกต์ด้านปัญญาประดิษฐ์
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาทักษะให้กับเยาวชนในด้านการเขียนโค้ดที่มุ่งเน้นในด้านการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ โดยการนำ Libraries หรือ Frameworks ที่เหมาะสมมาใช้งานเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการพัฒนาโครงการนวัตกรรม
6. การคิดเชิงนวัตกรรม
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีทักษะด้านการคิด การทำความเข้าใจผู้คนรวมถึงเข้าใจปัญหาของผู้คน สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีแนวคิดในการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ รู้วิธีการนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาใช้สร้างนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีการวางแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และสามารถสร้างผลงานนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม

Roadmap
แผนการเดินทาง
โดย คณะวิจัยของโครงการ
เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมาย ตามแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ต่อไปนี้
**รายละเอียดของแต่ละกิจกรรมจะแจ้งให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบ หลังจากที่ได้ถูกคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแล้ว**
Activities
กิจกรรมและกำหนดการ
โดย คณะวิจัยของโครงการ
การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ ได้กำหนดไว้เป็นแผนเบื้องต้นดังนี้
# | กิจกรรม | กำหนดการ |
---|---|---|
1 | เปิดรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการ (Online) | 1 ก.ค. – 14 ก.ค. 2566 |
2 | ปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ (Online) | 18 ก.ค. 2566 |
3 | เริ่มต้นเรียนเนื้อหาพื้นฐานผ่าน Platform (Online) | 18 ก.ค. – 8 ก.ย. 2566 |
4 | เข้าร่วมกิจกรรมที่ ม.ภูมิภาค และทดสอบเพื่อคัดเลือกเข้าค่าย Bootcamp | 9 ก.ย. 2566 |
5 | เข้าร่วม AI Innovator Bootcamp ที่ ม.นเรศวร | 13 ต.ค. – 22 ต.ค. 2566 |
6 | ทำกิจกรรม AI-Projects Hackathon | 23 ต.ค. – 24 พ.ย. 2566 |
7 | เข้าร่วม AI-Projects Exhibition and Contest | ประมาณ ธ.ค. – ม.ค. *ยังไม่มีกำหนดที่แน่นอน*- |
** กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำเนินโครงการจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง **
Contact
ติดต่อสอบถาม
หากมีข้อคำถามหรือต้องการติดต่อเพื่อรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ประสานงานโครงการ ดังต่อไปนี้
Contact Person #1
อ.วุฒิพงษ์ เรือนทอง (ผู้ประสานงานหลักของโครงการ)
(+66) 055-963-262
wuttipongr@nu.ac.th
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
Contact Person #2
คุณประภัสสร สวัสดิ์มงคล (ผู้ประสานงานด้านกิจกรรมโครงการ)
091-026-9069
praphatsornsa@nu.ac.th
Contact Person #3
คุณปทุมา แก้วแดง (ผู้ประสานงานด้านเอกสารสำคัญ)
(+66) 055-963-263
patumak@nu.ac.th
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
Project Team
คณะผู้ดำเนินโครงการ
คณะผู้ดำเนินโครงการเป็นอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาการคำนวณ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ จากมหาวิทยาลัยทั้ง 9 สถาบันในเขตภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เว็บไซต์ที่เปิดรับสมัคร https://research.sci.nu.ac.th/ai