คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

/
ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

พ.ศ 2518
สภาการฝึกหัดครูประกาศใช้หลักสูตรการฝึกหัดครูฉบับใหม่ทำให้วิทยาลัยครูทุกแห่งขยายการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี โดยผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการศึกษา
พ.ศ. 2527
มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูให้สามารถเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นได้ คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตรบัณฑิตขึ้น โดยเปิดสอนวิชาเอกสถิติประยุกต์เป็นวิชาแรกและต่อมาจึงเปิดสอนวิชาเอกเคมี
พ.ศ. 2531
สถาบันได้ตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ และผลิตบัณฑิตคอมพิวเตอร์ศึกษาเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2532
พ.ศ. 2538
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะวิทยาลัยครูตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ขึ้นเป็นสถาบันราชภัฏและสามารถเปิดทำการสอนในระดับสูงกว่าปริญญาตรีได้โดยเปลี่ยนชื่อจากคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผู้บริหารคณะเรียกว่า "คณบดี" ต่อมาสถาบันได้มีการเปลี่ยนแปลง ระบบการบริหารงาน จากภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา โดยผู้บริหารโปรแกรมวิชาประกอบด้วยประธานโปรแกรมวิชาและกรรมการบริหารโปรแกรมวิชาโดยโปรแกรมวิชาที่เปิดสอนมี ดังนี้ โปรแกรมวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยาประยุกต์ สถิติประยุกต์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2545 เปิดสอนโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ส่งเสริมสุขภาพเด็ก) เพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2547
มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏทำให้สถาบันราชภัฏเปลี่ยนสถานภาพเป็นเหมือนเช่นมหาวิทยาลัยของรัฐเดิมทั่วไปกล่าว คือ มีสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ ของตนเอง เป็นองค์กรการบริหารสูงสุดนอกจากนี้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการในราชกิจจานุเบกษาแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงครามออกเป็น 10 ส่วนราชการ มี 1 สำนักงาน 1 สำนัก 1 สถาบันและ 6 คณะแต่ละคณะมีสำนักงานคณบดีเป็นหน่วยงานกลางเพื่อประสานและดำเนินการจัดการศึกษา
พ.ศ. 2549
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา ภาคพิเศษเป็นรุ่นแรกรวมทั้งพยายามหารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสาขาวิชาหรือโปรแกรมวิชาต่างๆ ภายในที่เหมาะสมโดยจัดอาจารย์ผู้สอนเป็นสาขาวิชาและมอบหมายให้อาจารย์ประจำหลักสูตรในแต่ละสาขาวิชาโดยแต่งตั้งผู้ประสาน
พ.ศ. 2550
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ปรับปรุงหลักสูตรที่เปิดสอนเดิมให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้องกับเกณฑ์ ของกระทรวงศึกษาธิการและเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตใน 11 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นสาขาวิชาใหม่ที่เปิดเพิ่มมาและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ใน 3 สาชาวิชา คือ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
พ.ศ. 2552
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนหลักสูตรจุลชีววิทยาเพิ่มขึ้นอีก 1 สาขา รวมเป็น 12 สาขาวิชา ที่ทำการเปิดสอนในปัจจุบัน อนึ่งสาขาวิชาเคมีและชีววิทยาได้สร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตที่จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2553 เพิ่มใหม่อีก 3 สาขา ได้แก่ 1) วิทยาศาสตร์ศึกษา 2) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 3) เทคโนโลยีชีวภาพ
พ.ศ. 2553
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ยุบสาขา เหลือ 7 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาเคมีสาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา และกำลังพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์เพื่อทำการเปิดสอนในปี พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2554
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดบริหารแบบสาขา จำนวน 7 สาขาวิชาประกอบด้วยสาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 13 หลักสูตร โดยหลักสูตรที่เพิ่มคือหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ 1 หลักสูตร และหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จำนวน 3 หลักสูตร หลักสูตรดุษฏีบัณฑิต อีก 1 หลักสูตร ได้แก่วิทยาศาสตร์ศึกษากำลังพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสหศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผ่านมาแล้วจะสามารถเปิดการสอนได้ในปีการศึกษา 2555
พ.ศ. 2555
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดการบริหารแบบสาขาวิชา จำนวน 7 สาขาวิชา ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี 13 หลักสูตร หลักสูตรบัณฑิตศึกษาจากเดิม จำนวน 3 หลักสูตร ได้มีการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาเพิ่ม 2 หลักสูตร และได้เปิดสอนในปีการศึกษา 2555 รวมทั้งสิ้น 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิชาเคมี หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษา
พ.ศ. 2556
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดการบริหารแบบสาขาวิชา จำนวน 7 สาขาวิชา หลักสูตรปริญญาตรี 13 หลักสูตร หลักสูตรปริญญาโท จำนวน 5 หลักสูตร หลักสูตรปริญญาเอก 1 หลักสูตร ในปี พ.ศ. 2556 ได้เริ่มก่อสร้างอาคารสาธารณสุขศาสตร์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2557 อาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น จำนวน 5 ท่าน และคาดว่าจะผลิตบุคลากรสายวิชาการที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. 2557
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2/2557 มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานแบบสาขาวิชา เป็นหลักสูตรสาขาวิชา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 คือ ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเคมี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตรสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตรสุขภาพ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท จำนวน 5 หลักสูตร ที่ยังคงเปิดการเรียนการสอน มี 2 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเคมี และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา และได้ดำเนินการปิดหลักสูตร จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ระดับปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร ได้ดำเนินการปิดหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว คือ หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
พ.ศ. 2558
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการปิดหลักสูตร ระดับปริญญาตรี จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมทั้งได้ดำเนินการปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม และปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
พ.ศ. 2559
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทำการเปิดสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 10 หลักสูตรสาขาวิชา ได้แก่
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเคมี
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยา
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์
5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิตประยุกต์
6. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
7. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตรสิ่งแวดล้อม
9. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
10. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
พ.ศ. 2560
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทำการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี เพิ่มจำนวน 2 หลักสูตรสาขาวิชาได้แก่
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
พ.ศ. 2561
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทำการปิดหลักสูตรจำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ และได้เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี (ภาคปกติ) จำนวน 11 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์
5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
6. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
7. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
9. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
10. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
11. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
พ.ศ. 2562
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งสิ้น 17 หลักสูตร จำแนกเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 3 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์
5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
6. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
7. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
9. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการจัดการสารสนเทศ
10. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
11. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
12. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบูรณาการสุขภาพ ความงาม และสปา
13. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
14. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
15. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
ปัจจุบัน
ในปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เปิดสอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา จำนวน 18 หลักสูตร จำแนกเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 13 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 3 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์
5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
6. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
7. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
9. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการจัดการสารสนเทศ
10. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
11. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
12. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบูรณาการสุขภาพ ความงาม และสปา
13. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
14. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
15. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
16. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
17. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
18. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์